ราคา อิฐมวลเบา และมาตรฐานวัสดุ อิฐมวลเบา

หลักการและเหตุผล

อิฐ (Brick) เป็นวัสดุที่นำมาใช้ด้านงานก่อสร้างเป็นเวลาช้านานมาแล้ว เมื่อสมัยโบราณประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว อียิปต์เป็นชาติแรกที่ใช้อิฐก่อผนัง ต่อมาพวกบาบิโลเนีย พัฒนาต่อมาเรื่อยๆ อิฐในสมัยโบราณจะทำมาจากดินเหนียว โดยการขึ้นรูปเป็นก้อนอิฐด้วยมือ ซึ่งพบว่าอิฐที่ได้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ลักษณะที่ใช้งานแตกต่างจากคอนกรีตในเรื่องความแข็งแรงคือ อิฐที่ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความแข็งแรงมาก เพราะใช้งานก่อกำแพงหรืองานเพื่อความสวยงาม และ การทำอิฐสำหรับการก่อสร้างของคนไทยได้ทำกันมานานแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมครอบครัวในแถบชนบท ซึ่งมีขนาดเล็ก และอิฐที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นอิฐมอญ ต่อมาได้มีการตั้งโรงงานใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยมากขึ้น โดยอิฐที่ทำการผลิตมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ อิฐบล็อก อิฐมวลเบา อิฐโฟม อิฐแก้ว และกระจก โดยเฉพาะการผลิตอิฐมวลเบาในปัจจุบันได้พัฒนาอิฐมวลเบา สามารถทนไฟได้ดี กันความร้อนได้ การผลิตอิฐใช้ได้ทั้งแรงคนและเครื่องจักร โดยเครื่องจักรจะผลิตอิฐได้ขนาดค่อนข้างมาตรฐาน เรียบร้อยผลิตได้เป็นจำนวนมาก

นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างแบบใหม่สำหรับวงการก่อสร้างของไทย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง และเป็นทางเลือกใหม่แก่วงการก่อสร้าง เนื่องจากอิฐมวลเบามีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากอิฐชนิดอื่นๆ คือ สามารถนำไปใช้สร้างบ้านได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประหยัดแรงงาน และลดต้นทุนในการดำเนินการก่อสร้าง รวมทั้งสามารถช่วยประหยัดพลังงาน ป้องกันความร้อนได้ดี มีความคงทน และมีอายุการใช้งานนานกว่า 50 ปี และทั้งนี้ยังนิยมใช้ในงานก่อสร้างตึกสูงประเภทอื่นๆ เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม และโรงพยาบาล และทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างทุกประเภทเติบโตโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์คอนกรีต มวลเบาหรืออิฐมวลเบาซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ด้านวัสดุก่อสร้าง ที่มีอัตราการเติบโตในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เป็นที่รู้จักในตลาดเพิ่มมากขึ้นขณะที่อิฐมวลเบามีการใช้มานานในต่างประเทศแต่ยังเป็นวัสดุก่อสร้าง แบบใหม่ในประเทศไทย ปัจุบันอิฐมวลเบาเป็นที่รู้จักกันในวงการก่อสร้างและเป็นที่รู้จักและยอมรับในด้านคุณสมบัติที่โดดเด่น จึงมีการเปลี่ยนมาใช้อิฐมวลเบาทดแทนอิฐมอญหรืออิฐบล็อกมากขึ้น

จากการที่ได้ศึกษามาพบว่าอิฐมวลเบาจำเป็นในการก่อสร้างในสมัยใหม่และในอนาคตอีกมากจึงมีความสนใจที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอิฐมวลเบา




ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะของอิฐมวลเบา
อิฐมวลเบาเป็นวัสดุที่ผลิตมาจากการนำ ทราย ซีเมนต์ ปูนขาว ยิปซั่ม และผงอลูมิเนียม
มีฟองอากาศมากประมาณ 75% ทำให้เบา(ลอยน้ำได้) ฟองอากาศเป็น closed cell ไม่ดูดซึมน้ำ(ดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ 4 เท่า) ความเบาก็จะทำให้ประหยัดโครงสร้าง เป็นฉนวนความร้อน ค่าการต้านทานความร้อนดีกว่าคอนกรีตบล็อก 4 เท่า ดีกว่าอิฐมอญ 6-8 เท่า ไม่สะสมความร้อน ไม่ติดไฟ ทนไฟ 1,100 องศาได้นาน 4 ชม. กันเสียงได้ดี เมื่อฉาบจะแตกร้าวน้อยกว่าก่ออิฐฉาบปูน เนื่องจากตัวบล็อกกับปูนฉาบมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกัน
ขนาดของอิฐมวลเบาที่ใช้ในประเทศไทย
ขนาดของอิฐมวลเบา
กว้าง(ซม.) ยาว(ซม.) หนา(ซม.)
20 20 20 20 20 20 60 60 60 60 60 60 7.5 10.0 12.5 15.0 20.0 25.0




ลักษณะของอิฐมวลเบามีทั้งชนิดเสริมเหล็ก คือพวกแผ่นผนัง/พื้น/หลังคา และแบบไม่เสริมเหล็กคือบล็อกสำหรับก่อผนัง หนา7.5,8,9,20-30 ซม. สูง 20,30 ซม.ยาว 60 ซม. เลื่อยตัดได้เหมือนไม้ ทนแรงกด 30-80 กก. สามารถก่อเป็นผนังรับแรงได้ น้ำหนักประมาณ 80 กก./ตรม. 1 ก้อนเท่ากับอิฐมอญ 18 ก้อน


ขนาดมาตราฐานของ อิฐมวลเบา

ซึ่งมีขนาดตามมาตรฐาน กว้าง 20 ซม. ยาว 60 ซม. และมีความหนา 7.5, 10, 12.5, 15, 20, 25 ซม. สำหรับชั้นคุณภาพ 2 ชนิด 0.5 จะมีความหนาแน่นแห้ง ไม่เกิน 500 กก./ลบ.ม. และค่ารับกำลังแรงอัด ไม่น้อยกว่า 30 กก./ตร.ซม. ตามมาตรฐาน มอก. 1505-2541 สำหรับชั้นคุณภาพ 4 ชนิด 0.7 มีความหนาแน่นแห้ง ไม่เกิน 700 กก./ลบ.ม. และค่ารับแรงอัด ไม่น้อยกว่า 50 กก./ตร.ซม. ตามมาตรฐาน มอก.1505-2541



ความหนา ( ซม.) ความกว้าง x ยาว (ซม.) น้ำหนัก/ตรม (กก.) น้ำหนักปูนฉาบ 2 ด้าน (กก./ตรม.) ก้อน/ตรม. น้ำหนัก/ก้อน (กก.)
7.5 20 x 60 63 113 8.3 7.5
10.0 83 133 10.0
15.0 125 175 15.0
20.0 167 217 20.0




มาตรฐานวัสดุ อิฐมวลเบา

1. วัสดุก่อผนังคอนกรีตมวลเบา ขนาดตามแบบระบุ ไม่แตกหัก ไม่บิ่น ไม่มีรอยร้าว
2. ปูนก่อ สำหรับคอนกรีตมวลเบาสามารถก่อได้ประมาณ 30-36 ตารางเมตรต่อ 1 ถุง ซึ่งปูนก่อทั่ว ไป จะได้แค่ประมาณ 9 ตารางเมตรต่อ 1 ถุง (คำนวณเมื่อมีการผสมที่ ปูน 1 ส่วน : ทราย 2 ส่วน : น้ำ 1 ส่วน)
2.1 ปูนตราเสือคู่สำหรับก่ออิฐมวลเบา : ถุงสีเขียวอ่อน (ประมาณ 36 ตร.ม. ต่อ 1 ถุง)
2.2 ปูนอินทรีย์มอร์ต้าร์แม็กซ์สำหรับก่ออิฐมวลเบา : ถุงสีม่วง (ประมาณ 36 ตร.ม. ต่อ 1 ถุง)
2.3 ปูนจิงโจ้ (ประมาณ 30 ตร.ม. ต่อ 1 ถุง)
3. ปูนฉาบ ควรเลือกปูนฉาบอิฐมวลเบาหรือปูนสำเร็จฉาบทั่วไปมาใช้ เพราะจะให้ยึดเกาะที่ดีกว่า ปูนที่ต้องผสมเอง และสามารถฉาบได้บางกว่าทำให้มีต้นทุนการใช้ใกล้เคียงกว่าปูนที่ยังไม่ผสม
3.1 ปูนตราเสือคู่สำหรับอิฐมวลเบา : ถุงสีฟ้า ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้ประมาณ 4
ตร.ม.)
3.2 ปูนอินทรีมอร์ต้าร์แม็กซ์สำหรับอิฐมวลเบา : ถุงสีฟ้า ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้
ประมาณ 4 ตร.ม.)
3.3 ปูนตราเสือคู่ ปูนสำเร็จฉาบทั่วไป : ถุงสีเขียว ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้ประมาณ 4
ตร.ม.)
3.4 ปูนอินทรีมอร์ต้าร์แม็กซ์ ปูนฉาบทั่วไป : ถุงสีเขียวอ่อน ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้
ประมาณ 4 ตร.ม.)

เพื่อให้มั่นใจว่าอิฐมวลเบา จะมีคุณภาพที่ดี และได้มาตรฐานเดียวกันกับทั่วโลกที่ผลิตจากลิขสิทธิ์ของ HEBEL Technology ทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิตจึงมีระบบตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐานเยอรมัน รวมทั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย เริ่มตั้งแต่การทดสอบคุณภาพวัตถุดิบที่จะนำมาใช้งาน ตลอดจนขั้นตอนสุดท้าย อิฐมวลเบา จะถูกนำมาตรวจสอบคุณสมบัติที่สำคัญ เช่น แรงกด, น้ำหนักเมื่อแห้ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อย้ำความมั่นใจในคุณภาพของอิฐมวลเบา
ด้วยคุณภาพที่ได้มาตรฐานระดับสากล ทำให้ผลิตภัณฑ์อิฐมวลเบา ได้รับการรับรองเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม

มอก. 1505-2541 : ชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ


มาตรฐานมอก. 1505-2541 ชั้นคุณภาพ 2 ชนิด 0.5 เป็นวัสดุใช้สำหรับก่อผนังเพื่อแบ่งกั้นพื้นที่ระหว่างห้องหรืออาคาร ใช้งานได้ทั้งผนังภายนอก และภายใน ขนาดมิติเที่ยงตรงแน่นอน ผิดพลาดเพียง 2 มม. เท่านั้น ใช้งานด้วยวิธีก่อบางด้วยปูนกาวหนาเพียง 2-3 มม. มีหลายความหนาให้เลือกใช้ บรรจุและลำเลียงขนส่งด้วยพาเลทไม้จึงสะดวก รวดเร็ว เสียหายน้อย


ความหนา(ซม.) กว้างxยาว(ซม.) ก้อน/ตร.ม. กิโลกรัม/ตร.ม. ก้อน/พาเลท ตร.ม./พาเลท
7.5 20x60 8.33 46.5 200 24.0
10 20x60 8.33 63.0 150 18.0
12.5 20x60 8.33 77.5 125 15.0
15 20x60 8.33 93.0 100 12.0
20 20x60 8.33 124.0 70 8.4
25 20x60 8.33 155.0 60 7.2


คุณสมบัติ

อิฐมวลเบาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตชนิดใหม่ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติได้แก่ ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย ปูนขาว ยิบซั่ม น้ำ และสารกระจายฟองอากาศส่วนผสมพิเศษในอัตราส่วนที่เป็นสูตรเฉพาะตัว การผลิตส่วนใหญ่เป็นการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่าง ประเทศอาทิเช่น เยอรมนี ออสเตรเลีย ฯ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ที่มุ่งเน้นให้เกิด ประโยชน์สูงสุดจากการนำไปใช้งานทุกด้าน ด้วยคุณสมบัติพิเศษ คือ ตัววัสดุมีน้ำหนักเบา ขนาดก้อนได้มาตรฐานเท่ากันทุกก้อน ทนไฟ ป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง ตัดแต่งเข้ารูปง่าย ใช้งานได้เกือบ 100% ไม่มีเศษเป็นอิฐหัก และที่สำคัญคือรวดเร็ว สะอาด ลดระยะเวลาในการก่อสร้างและลดต้นทุนโครงสร้างและมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ดังนี้

1. คุณสมบัติทางกายภาพ อิฐมวลเบา หนา 10 เซนติเมตร เมื่อรวมน้ำหนักวัสดุรวมปูนฉาบจะหนัก 120 กิโลกรัม ในขณะที่อิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) จะหนัก 180 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักของการก่ออิฐมอญจะมากกว่าทำให้ต้องเตรียมโครงสร้างเผื่อกันรับน้ำหนักในส่วนนี้ด้วย ทำให้ต้นทุนโครงสร้างเพิ่มขึ้น

2. การกันความร้อน หากเป็นกรณีปกติ “อิฐมวลเบา”จะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอิฐมอญประมาณ 8-11 เท่า แต่การก่อผนังภายนอกอิฐจะต้องมีความหนา 10 เซนติเมตร และผนังภายในหนา 7 เซนติเมตร ขึ้นไป จึงจะสามารถกันความร้อนได้ดี แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ตัวช่องว่างตรงกลาง จะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และอิฐแถวด้านในไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง จึงทำให้คุณสมบัติตรงนี้ของอิฐมอญจะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดีกว่า แต่การเว้นช่องว่างไม่ควรต่ำกว่า 5 เซนติเมตร

3. การกันเสียง ปกติอิฐมวลเบาจะกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 20% แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าเป็นฉนวนกันเสียงได้ดีกว่าเกือบ 2 เท่า แต่อิฐมวลเบาจะลดการสะท้อนของเสียงได้ดีกว่าเนื่องจากโครงสร้างของอิฐมวลเบามีฟองอากาศเป็นจำนวนมากอยู่ภายในทำให้ดูดซับ เสียงได้ดี จึงเหมาะสำหรับห้องหรืออาคารที่ต้องการความเงียบ เช่น โรงภาพยนตร์หรือห้องประชุม

4. การกันไฟ อิฐมอญก่อ 2 ชั้นมีฉนวนตรงกลาง (ช่องว่างตรงกลาง) จะกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อยและทนไฟที่ 1,100 องศาเซลเซียส ได้นานกว่า 4 ชั่วโมงซึ่งนานกว่าอิฐมอญ 2-4 เท่า ทำให้จะช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้

5. ความแข็งแรง การใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมาก เช่น หินแกรนิต หรือหินอ่อน

6.น้ำหนักเบาและรับแรงกดได้ดี น้ำหนักเบากว่าอิฐมอญ 2-3 เท่า และเบากว่าคอนกรีต 4-5 เท่า ส่งผลให้ประหยัดค่าก่อสร้างโครงสร้างอาคาร และเสาเข็มลงได้อย่างมาก แต่อาคารยังคงมีความแข็งแรงเท่าเดิมจากโครงสร้างของอิฐมวลเบาที่ประกอบไปด้วยฟองอากาศจำนวนมากทำให้มีน้ำหนักเบาและสามารรับแรงกดได้ดี ซึ่งจากคุณสมบัติข้อนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถประหยัดต้นทุนในการ ก่อสร้างได้มาก ยกตัวอย่างเช่น ไม่ต้องลงเสาเข็มลึกมากเนื่องจากโครงสร้างเบาและสามารถ ก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างที่เล็กลง ทำให้ประหยัดการใช้เหล็กและมีพื้นที่ใช้สอยภายในมากขึ้น

7. ประหยัดพลังงาน เนื่องจากสามารถกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญแล้วยังใช้เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเล็กลงได้ ช่วยประหยัดค่าไฟไปได้มาก กันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญถึง 4-8 เท่า จึงช่วยลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอก สู่ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 30%

8. ใช้งานง่าย และรวดเร็ว เนื่องจากการผลิตที่เป็นมาตรฐานทำให้สินค้าที่ออกมาเท่ากันทุกก้อน ไม่เหมือนกับอิฐมอญที่ยังมีความไม่เป็นมาตรฐานอยู่ทำให้การก่อสร้างโดยใช้อิฐมวลเบาจะใช้เวลาในการก่อและเกิดการสูญเสียน้อยกว่า โดยเฉลี่ยแล้วภายใน 1 วันการก่อผนังโดยใช้อิฐมวลเบาจะได้พื้นที่ 25 ตรมไม่ต้องอาศัยความชำนาญของช่าง สามารถตัด แต่ง เลื่อย ไส เจาะ ฝังท่อระบบได้โดยใช้เครื่องมือเฉพาะที่ใช้งานง่าย และหาซื้อได้ทั่วไป. ขณะที่หากใช้อิฐมอญจะก่อได้เพียง 12 ตรม. นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดวัสดุอื่นๆ เช่น ปูนฉาบด้วย เนื่องจากสามารถก่อฉาบได้บางกว่าช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้

9.มิติเที่ยงตรง ขนาดมิติเที่ยงตรง แน่นอน ได้ชิ้นงานที่เรียบ สวยงาม มีหลายขนาดให้เลือก ประหยัดวัสดุ และ แรงงานในการก่อ ฉาบ

10. อายุการใช้งาน ยาวนานเท่าโครงสร้างคอนกรีต (50 ปี) เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่
ปูนซีเมนต์ ทราย ปูนขาว ยิปซั่ม สารกระจายฟองและเหล็กเส้น จึงมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า อิฐมอญซึ่งส่วนผสมส่วนใหญ่ คือ ดิน



คุณสมบัติทางกายภาพ

คุณสมบัติทางกายภาพ
คุณสมบัติ หน่วย Block Q-CON Lintel & Panel
G2 G4
1. ความหนาแน่นแห้ง กก./ลบ.ม. 500 700 600
2. ความหนาแน่นใช้งาน กก./ลบ.ม. 620 910 780
3. ค่ารับกำลังอัด กก./ตร.ซม. 30 50 40
4. Modulus Of Rupture กก./ตร.ซม. 4.4 8 -
5. Ultimate Tensile Strength กก./ตร.ซม. 4.4 4.4 -
6. Modulus Of Elasticity, E กก./ตร.ซม. 15,000 17,500 21,900

ค่าการต้านทานความร้อน
ผลิตภัณฑ์ ค่าการนำความร้อน ค่าการต้านทานความร้อน
บล็อก 0.13 10 ซม.15 ซม. 0.771.15
แผ่นผนัง แผ่นหลัง ทับหลัง 0.16 20 ซม.10 ซม.15 ซม.20 ซม. 1.540.630.941.25


ส่วนประกอบของอิฐมวลเบา

วัตถุดิบที่สำคัญที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตมวลเบาประกอบด้วยปูนซีเมนต์ ทราย ปูนขาว ชีเมนต์ ยิปชั่ม สารกระจายฟองอากาศ และ ผ่านการผสมด้วยสูตรพิเศษเฉพาะตัว สัดส่วนในการผสม อิฐมวลเบา
ทรายละเอียด (สัดส่วน 50%)
ยิปซั่ม (สัดส่วน9%)
ปูนขาว (สัดส่วน 9%)
ซีเมนต์ (สัดส่วน 30%)
ผงอลูมิเนียม (สัดส่วน 2%)
และ ถูกทำให้แข็งด้วยการอบไอน้ำภายใต้ความดัน และ อุณหภูมิประมาณ 180 องศาเซลเซียสมีฟองอากาศมากประมาณ 75% ทำให้เบา(ลอยน้ำได้) ฟองอากาศเป็น closed cell ไม่ดูดซึมน้ำ(ดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ 4 เท่า) ความเบาก็จะทำให้ประหยัดโครงสร้างและสานเคมีที่กระจายอย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ ผ่านการอบไอน้ำ ภายใต้อุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม ด้วยเครื่องจักรที่ได้มาตรฐานจากเยอรมันนี

กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบา

อิฐมวลเบาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตชนิดใหม่ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติได้แก่ ปูนซิเมนต์ปอร์ดแลนด์ ทราย ปูนขาว ยิบซั่ม น้ำ และสารกระจายฟองอากาศส่วนผสมพิเศษในอัตราส่วนที่เป็นสูตรเฉพาะตัว ซึ่งผู้ผลิตหลายรายใช้ระบบ AAC (Autoclaved Aerated Concrete) การผลิตส่วนใหญ่เป็นการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่าง ประเทศอาทิเช่น เยอรมนี ออสเตรเลีย ฯ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ที่มุ่งเน้นให้เกิด ประโยชน์สูงสุดจากการนำไปใช้งานทุกด้าน ด้วยคุณสมบัติพิเศษ คือ ตัววัสดุมีน้ำหนักเบา ขนาดก้อนได้มาตรฐานเท่ากันทุกก้อน
อิฐมวลเบา มีมากมายหลายประเภท หากมองเพียงภายนอกอาจแทบไม่แตกต่างกัน แต่แท้
จริงแล้วอิฐมวลเบาที่ใช้วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่ต่างกันจะทำให้คุณสมบัติของอิฐมวลเบา
แตกต่างกันด้วย
อิฐมวลเบาโดยทั่วไปอาจแบ่งตามกระบวนการผลิตได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 ระบบที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Non - Autoclaved System)
ซึ่งจะแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ใช้วัสดุเบากว่ามาทดแทน เช่น ขี้เลื่อย ขี้เถ้า ชานอ้อย หรือเม็ดโฟมทำให้
คอนกรีตมีน้ำหนักที่เบาขึ้น แต่จะมีอายุการใช้งานที่สั้นเสื่อมสภาพได้เร็ว และหากเกิดไฟ
ไหม้สารเหล่านี้อาจเป็นพิษต่อผู้อยู่อาศัย

ประเภทที 2 ใช้สารเคมี (Circular Lightweight Concrete) เพื่อให้เนื้อคอนกรีตฟู และทิ้งให้ แข็งตัว
คอนกรีตประเภทนี้จะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย ไม่ค่อยแข็งแรง คอนกรีตที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงนี้ส่วนใหญ่เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสี เป็นสีปูนซีเมนต์ คอนกรีตประเภทนี้จะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย ไม่ค่อยแข็งแรงต่างจากคอนกรีตที่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงซึ่งจะมีเนื้อผลิตภัณฑ์เป็นผลึกสีขาว


สำหรับขั้นตอนการผลิตแบบไม่ผ่านการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง

1 .นำวัสดุที่เตรียมไว้มาร่อนด้วยตะแกรงคัดขนาด เอาส่วนหยาบออก ให้เหลือแต่ส่วนละเอียด
2. คลุกเคล้าส่วนผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน
3. นำวัสดุแต่ละชนิดที่เตรียมไว้ ทยอยเทลงในเครื่องผสม เพื่อคลุกเคล้าให้ส่วนผสมทั้งหมดกระจายตัวเข้ากันดี จากนั้น เติมน้ำแปรรูปพิเศษลงไปคลุกเคล้าเป็นลำดับสุดท้าย คลุกเคล้าต่อไปกระทั่งส่วนผสมรวมกันเป็นเนื้อเดียวดีแล้ว
4. วัสดุผสมที่ได้ก็พร้อมนำไปอัดรูป เป็นอิฐตามขนาดที่ต้องการก่อน
5. นำไปอัดพิมพ์ควรสังเกตด้วยว่าส่วนผสมนั้น มีความชื้นพอเหมาะดีหรือไม่ หากแห้งเกินไป เมื่ออัดพิมพ์แล้วอาจแตกร้าวได้ จำเป็นต้องปรับส่วนผสมใหม่ให้มีความชื้นพอเหมาะ คลุกเคล้าส่วน
ผสมด้วยเครื่องผสม
6. กรอกส่วนผสมลงแม่พิมพ์ให้มากพอทยอยกรอกส่วนผสมลงแม่พิมพ์ พร้อมๆกับใช้มืออัดส่วนผสมให้แน่น และให้ส่วนผสมนั้นพูนล้นแม่พิมพ์เล็กน้อย จึงอัดพิมพ์ เพื่อให้ได้มวลอิฐที่แน่น ไม่แตกร้าวเมื่อถอดพิมพ์อัดส่วนผสมในพิมพ์ให้แน่น อัดพิมพ์เป็นขั้นตอนสุดท้าย
7.หลังจากถอดแบบพิมพ์ ให้ผึ่งลมทิ้งไว้ ประมาณ 3 วัน อิฐมวลเบาที่ได้จะแห้งสนิทสามารถ
นำไปใช้งานได้ แต่ถ้ามีแสงแดดจัด โดยเฉพาะช่วงถอดพิมพ์ หากนำไปผึ่งแดดจะช่วยให้อิฐแห้ง
เร็วขึ้นอิฐมวล นี้ใช้ระยะเวลาผึ่งให้แห้งสั้นกว่าอิฐที่ทำจากซีเมนต์ ซึ่งต้องใช้เวลาผึ่งนานถึง7 วัน ทั้งมีขั้นตอน และกรรมวิธีในการบ่มซับซ้อนกว่าแต่มีข้อพึงระวังระหว่างผึ่งอิฐ
ต้องระมัดระวังมิให้ถูกฝน หรือน้ำมิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายได้เนื่องจากขณะที่อิฐมวลเบาแปรรูปยังไม่แห้งตัวจะละลายไปกับน้ำนั่นเอง

2 ระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Autoclaved System)
ซึ่งแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 Lime Base ใช้ปูนขาว ซึ่งควบคุมคุณภาพได้ยาก มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
ทำให้คุณภาพคอนกรีตที่ได้ไม่ค่อยสม่ำเสมอ มีการดูดซึมน้ำมากกว่า
ประเภทที่ 2 Cement Base ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
เป็นระบบที่นอกจากจะช่วยให้คอนกรีต มีคุณภาพได้มาตรฐานสม่ำเสมอแล้ว ยังช่วยให้เกิดการตกผลึก (Calcium Silicate) ในเนื้อคอนกรีตทำให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่ง ทนทาน กว่าการผลิตในระบบอื่นมาก



สำหรับขั้นตอนการผลิตแบบผ่านการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง

1. นำวัตถุดิบหลักคือทรายมาบดด้วยเครื่องบด บดผสมกับน้ำ
2. นำวัตถุดิบที่ใช้ในกรรมวิธีทำอิฐมวลรวมเบา (ปูนขาว, ผงอลูมิเนียม, ทราย, ซีเมนต์, ยิบซั่ม) ผสมเข้ากันตามอัตราส่วน โดยส่วนผสมหลักคือทราย และซีเมนต์ ตามลำดับ ด้วยเครื่องผสม) การผสม (Mixing) โดยนำทรายและยิบซั่มมาผสมกันก่อนในขณะเดียวกันปูนขาวผสมกับซีเมนต์จากนั้นจึงนำทั้งหมดมาผสมกัน และจึงผสมกับอลูมิเนียม
3. เทเข้าแม่พิมพ์
4. นำเข้าห้องบ่มเพื่อให้เกิดปฏิกริยา เป็นฟองอากาศและฟูขึ้นมา
5. นำเข้าเครื่องตัด CUTTING MACHINES (M203) และเครื่องทำโครงตาข่าย
6. นำผ่านเข้าเครื่องอบ Over Dryer (M 114) โดยสายพานลำเลียง CONVEYOR SYSTEM (M122) 7. ตรวจสอบ QC
8. บรรจุ โดยทุกขั้นตอนการผลิตมีการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งกระบวนการผลิต



การใช้งาน
อิฐมวลเบา เป็นวัสดุก่อผนังมาตรฐานใหม่ ที่นำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย มาผลิตเป็น “วัสดุก่อผนังมวลเบา” มีลักษณะเป็นคอนกรีตก้อนตันที่มีมวลเบากว่าคอนกรีตทั่วไป และตัวก้อนจะมีฟองอากาศขนาดเล็ก แบบปิดไม่ต่อเนื่องกระจายอย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีต และทำให้ใช้ก่อผนังด้วยวิธีก่อบาง 2-3 มม. ร่วมกับปูนก่อและปูนฉาบอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ ซึ่งมีขนาดตามมาตรฐาน กว้าง 20 ซม. ยาว 60 ซม. และมีความหนา 7.5, 10, 12.5, 15, 20, 25 ซม.
วิธีการก่อผนังอิฐมวลเบา
เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง แบ่งได้ 2 ประเภท



เครื่องมือทั่วไป เครื่องมือเฉพาะ


เครื่องมือเฉพาะที่ใช้ในการก่ออิฐมวลเบา ประกอบไปด้วย เกรียงก่ออิฐมวลเบา แผ่นเหล็กยึดแรงหัวปั่นปูน เลื่อยตัดอิฐมวลเบา เหล็กขูดเซาะร่อง เกรียงฟันปลา ค้อนยาง ตามรูปด้านบน ซึ่งอุปกรณ์เฉพาะจะทำให้ผนัง อิฐมวลเบามีความแข็งแรง ประหยัดต้นทุนของวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ และช่วยให้งานเสร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยรายละเอียดการใช้งานของแต่ละอุปกรณ์สามารถศึกษาและอ่านข้อมูลได้จาก ขั้นตอนและข้อแนะนำในการก่อ



สัดส่วนการผสมปูน
1. ผสมปูนก่ออิฐมวลเบา เสือคู่ ในสัดส่วน 1 ถุง ต่อ น้ำสะอาดประมาณ 14-15 ลิต ผสมให้เข้ากันด้วยหัวปั่นปูนที่ต่อเข้ากับสว่านไฟฟ้า 2-3 นาที ให้เข้ากันเป็นอย่างดี ควรผสมแค่พอใช้เท่านั้นและควรใช้ให้หมดภายใน 2 ชม.
2. ผสมปูนฉาบอิฐมวลเบา เสือคู่ในสัดส่วน 1 ถุง ต่อ น้ำสะอาดประมาณ 10-12 ลิตร ผสมให้เข้ากันด้วยโม่ผสมปูน ให้เข้ากันเป็นอย่างดี ควรผสมแค่พอใช้เท่านั้น และควรใช้ให้หมดภายใน 2 ชม.
ข้อแนะนำ: หลังจากผสมแล้วไม่ควรนำปูนที่ทิ้งไว้จนแห้งตัว มาผสมน้ำเพิ่ม แล้วใช้งานต่อ เพราะจะทำให้การรับกำลังของปูนลดน้อยลง เป็นผลทำให้โครงสร้างไม่แข็งแรง

การก่อ
1. ก่อนทำการก่อต้องตรวจดูแบบก่อนเสมอ สำหรับในบริเวณที่ทำการก่อผนังอิฐมวลเบา ที่อาจมีน้ำขัง เช่น ระเบียง ต้องทำคัน ค.ส.ล. กั้นระหว่าง ตัวก้อนอิฐมวลเบา กับ พื้น ค.ส.ล. บริเวณนั้น

2. ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการก่ออิฐมวลเบาซีแพคให้เรียบร้อย ทำการปรับวางแนวดิ่ง แนวฉากของการก่อ หลังจากนั้นใช้แปรงสลัดน้ำพอชุ่มในบริเวณที่จะทำการก่อ และทำความสะอาดเศษฝุ่นที่เกาะบนตัวก้อนให้เรียบร้อย โดยที่ไม่ต้องราดน้ำที่ตัวก้อน
3. เริ่มการก่อชั้นแรก โดยการใช้ปูนทรายในการปรับระดับ โดยให้มีความหนาของปูนทรายประมาณ 3-4 ซม.
4. ผสมปูนก่ออิฐมวลเบา กับน้ำสะอาด โดยใช้หัวปั่นปูน ตามคำแนะนำในหัวข้อ สัดส่วน
การผสมปูน

5. ก่อก้อนแรกโดยให้ป้ายปูนก่อบริเวณด้านข้างเสาและด้านล่างก้อนด้วยเกรียงก่ออิฐมวล เบา โดยมีความหนาของปูนก่อเพียง 2-3 มม. ระหว่างตัวก้อน


6. เริ่มก่อขั้นแรก โดยใช้ค้อนยางปรับให้ได้ระดับตามแนวเอ็นที่ระดับตามแนวเอ็นที่ขึงไว้ และใช้ระดับน้ำในการช่วยจัดให้ได้ระดับ

7. ก่อก้อนที่สอง โดยใช้เกรียงก่อ ป้ายปูนก่อด้านข้างและด้านล่างของก้อน โดยให้มีความหนา 2-3 มม. และปรับระดับด้วยค้อนยางให้ได้ระดับเดียวกัน หลังจากนั้นก่อก้อนต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยวิธีการเดิมจนครบแนวก่อชั้นแรก เมื่อจำเป็นต้องตัดตัวก้อนอิฐมวลเบา ให้วัดระยะให้พอดี และใช้เลื่อยตัดอิฐมวลเบาในการตัดตัวก้อน โดยหากตัดแล้วไม่เรียบหรือไม่ได้ฉาก ให้ใช้เกรียงฟันปลาไสแต่งตัวก้อน และถ้าต้องการขัดอย่างละเอียดเพื่อให้ตัวก้อนเรียบมากขึ้น ให้ใช้เกรียงกระดาษทรายขัดให้เรียบขึ้นได้


8. ก่อชั้นต่อไปโดยต้องก่อในลักษณะสลับแนวระหว่างชั้น และมีการขึงแนวก่อนการก่อ โดยแนวที่เหลื่อมกันมีระยะไม่น้อยกว่า 10 ซม. แต่ละก้อนให้ป้ายปูนก่อรอบก้อน หนา 2-3 มม. ซึ่งต้องใส่ปูนก่อให้เต็มตลอดแนวและหากใช้ไม่เต็มก้อนให้ใช้เลื่อยตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
9. ปลายก้อนที่ก่อชนเสาโครงสร้าง หรือเสาเอ็นจะต้องยึดด้วยแผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap ที่งอฉาก ยาวประมาณ 15-20 ซม. เข้ากับโครงสร้างด้วยตะปูคอนกรีต หรือพุกสกรู ทำเช่นนี้ทุกระยะ 2 ชั้น ของก้อน

10. ก่อก้อนถัดไปด้วยวิธีการเดียวกับชั้นแรก จนจบแนวชั้นที่สอง จากนั้นก็ก่อชั้นต่อๆ ไปด้วยวิธีการเดียวกันจนแล้วเสร็จ

ข้อแนะนำในการก่อ
1. มุมกำแพงทุกมุมกรณีไม่ทำเสาเอ็น ค.ส.ล. ให้ก่อประสานเข้ามุม (Interlocking) ทั้งนี้ผนังต้องมีระยะไม่เกินข้อมูลตามตารางด้านล่าง และปลายกำแพงที่ยื่นออกมาเสาเกินกว่า 1.50 ม. (ยกเว้นกรณีใช้ตัวก้อนอิฐมวลเบา หนา 7.5 ซม. ต้องทำเสาเอ็น ค.ส.ล. ทุกขนาดพื้นที่ ที่ก่อไม่เกิน 10 ตร.ม.)
พื้นที่สูงสุดของผนังอิฐมวลเบา โดยไม่ต้องมีเสาเอ็น / ทับหลัง ค.ส.ล.
ความสูง(เมตร) ความยาวสูงสุดของผนังโดยไม่ต้องมีเสาเอ็น / ทับหลัง ค.ส.ล. (เมตร)
ความหนาอิฐมวลเบา (เซนติเมตร)
7.5 10 12.5 15 17.5 20
2.5 4.2 6.3 8.0 10.0 10.5 10.5
2.75 3.7 6.0 7.0 9.5 10.5 10.5
3 3.4 5.7 6.6 8.2 10.0 10.5
3.25 3.0 4.9 6.0 7.5 9.0 10.5
3.5 2.0 4.5 5.3 7.0 8.0 10.5
3.75 - 3.5 4.8 6.4 7.0 10.0
4 - 3.0 3.8 5.5 6.0 9.5
4.5 - 1.5 2.5 4.0 5.5 9.0
5 - - 1.5 3.2 5.0 7.5
5.5 - - - 2.5 4.0 6.0
6 - - - - 3.0 5.0


2. การก่อผนังให้ก่อชนท้องคานหรือท้องพื้นทุกแห่ง โดยเว้นช่องไว้ประมาณ 2-3 ซม. แล้วอุดปูนทรายตลอดแนวและยึดแผ่นเหล็กยึดแรงหรือ Metal strap ที่ท้องพื้นหรือท้องคานไว้ทุกระยะไม่เกิน 1.20 ม. สำหรับผนังที่ก่อสูงไม่ชนท้องคานหรือพื้นทุกแห่ง จะต้องทำทับหลัง ค.ส.ล.
3. การก่อผนังที่ชนกับท้องพื้นโครงสร้างอาคาร ซึ่งมีโอกาสแอ่นตัวลงมาได้ ตามหลักการใช้งานก่อสร้างบางประเภท เช่น พื้นระบบ Post Tension หรือโครงสร้างเหล็ก จะต้องเว้นช่องว่างที่ส่วนบนไว้ประมาณ 2.5-4 ซม. แล้วเสริมวัสดุที่มีความยืดหยุ่นตัว เช่น โฟม, แผ่นยาง หรือ Fiber Glass ปิดก่อนฉาบทับและทำการเซาะร่องตามแนวรอยต่อ

ข้อแนะนำในการใช้ แผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap กับการก่อผนังอิฐมวลเบา
1. ควรมีระยะฝังของ Metal strap ในตัวก้อนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของความยาวก้อน
2. ใช้เหล็กขูดเซาะร่อง ขูดตัวก้อนให้มีความยาว มากกว่าความยาวของระยะผังเหล็ก Metal strap ประมาณ 1 ซม. และมีความลึกของร่องขุดประมาณ 5 มม.
3. วางแผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap (ที่ดัดฉากแล้ว) ตามร่องที่ขูดไว้ และใช้ตะปูชนิดตอกคอนกรีต 1 นิ้ว ตอกยึด Metal strap เข้ากับตัวโครงสร้าง
4. การก่อแบบประสานมุม (Interlocking) สามารถทำได้เมื่อใช้อิฐมวลเบา หนา 10 ซม. ขึ้นไป ให้ตอกตะปู ขนาด 1 นิ้ว ยึดแผ่นเหล็ก Metal strap กับตัวก้อนอิฐมวลเบา โดยใช้ตะปู 2 ตัว ยึดหัวและท้ายแบบทแยงกัน

หมายเหตุ : การติดตั้งแผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap จะต้องติดทุกๆ ระยะ 2 ของการก่ออิฐมวลเบา

วิธีการติดตั้งคานทับหลังสำเร็จรูป (Lintel)
สำหรับผนังอิฐมวลเบาที่มีความหนา 10 ซม.ขึ้นไปนั้น สามารถใช้ทับหลังสำเร็จรูป แทนการหล่อทับหลัง ค.ส.ล.ได้ โดยวางทับหลังสำเร็จรูปลงบนตัวก้อนอิฐมวลเบาทั้งสองด้าน (ไม่ให้น้ำหนักถ่ายลงบนวงกบโดยตรง) โดยต้องมีระยะนั่งของบ่าทั้งสองด้านเพียงพอ ตามตาราง ทั้งนี้ขนาดมาตรฐานของคานทับหลังสำเร็จรูป มีความยาวตั้งแต่ 1.20 ม. จนถึง 3.60 ม. ทุกๆ ช่วง 0.30 ม. ความหนา 10, 12.5 และ 20 ซม.


ขนาดช่องเปิด B ระยะนั่งต่ำสุด A
น้อยกว่า 1.00 ม. 0.15 ม.
1.00 - 1.90 ม. 0.20 ม.
2.00 - 3.00 ม. 0.30 ม.



การฝังท่อร้อยสายไฟหรือท่อประปา
1. กำหนดแนวที่ต้องการฝังท่อ โดยใช้ดินสอขีดทำเครื่องหมายลงบนผนังอิฐมวลเบา หรือใช้เต้าตีเส้น โดยมีขนาดทีใกล้เคียงกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ
2. ใช้มอเตอร์เจียรที่เป็นใบพัดแบบตัดคอนกรีต ตัดตามแนวที่กำหนดไว้ ให้มีความลึกเท่ากับขนาดท่อ โดยความลึกสูงสุดไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของความหนาของตัวก้อน
3. ใช้สิ่วตอกเพื่อแซะเนื้อของตัวก้อนอิฐมวลเบาออกตามแนวที่ได้เจียรไว้ แล้วใช้เหล็กขูดเซาะร่องขูดเก็บส่วนที่ยังมีเศษติดค้างอยู่ให้เรียบร้อย พร้อมที่จะใส่ท่อร้อยสายไฟ หรือท่อประปา




วิธีการฉาบ ผนังอิฐมวลเบา
การเตรียมพื้นผิว
ใช้แปรงตีน้ำหรือไม้กวาดปาดและทำความสะอาดเศษผงที่ติดอยู่บนผนังอิฐมวลเบาให้หมด และหากมีรอยแตกบิ่นให้อุดด้วยปูนก่อเสียก่อน แล้วทั้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะทำการฉาบ จากนั้นให้ราดน้ำที่ผนังให้ชุ่มประมาณ 2 ครั้ง แล้วทิ้งให้ผนังดูดซับน้ำ จึงเริ่มขั้นตอนการฉาบผนังอิฐมวลเบา


การฉาบ
การฉาบผนังอิฐมวลเบา จะใช้ปูนฉาบอิฐมวลเบาตราเสือคู่ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีแรงยึดเกาะสูง เนื้อละเอียด เหนียวลื่น มีความอุ้มน้ำสูง ทำให้ไม่แตกร้าว โดยการฉาบ จะฉาบด้วยความหนาเพียง 0.5 – 1.0 ซม. เท่านั้น ไม่ควรฉาบหนาเกิน 1.5 ซม. โดยปูนหนึ่งถุงน้ำหนัก 50 กก. นั้น ใช้น้ำสะอาด 10-12 ลิตรผสม ได้พื้นที่ ฉาบประมาณ 2.8-3 ตร.ม.
วิธีฉาบปูน
1. ควรฉาบให้มีความหนาปูนฉาบเพียง 0.5-1.0 ซม. ให้ทำการฉาบ 2 ชั้น ชั้นละประมาณครึ่งหนึ่งของความหนาทั้งหมด
2. เมื่อฉาบชั้นแรกแล้วให้ทิ้งไว้ให้หมาด แล้วฉาบชั้นที่สองต่อ จนได้ความหนาที่ต้องการ หลังจากนั้นแต่งผิวให้เรียบตามวิธีปกติ




ข้อแนะนำในการฉาบ
1. การฉาบปูนบนผนังอิฐมวลเบา โดยฉาบเป็นชั้นเดียวแล้วตีน้ำเลยนั้น ทำได้เฉพาะกรณีที่ฉาบหนาไม่เกิน 1.5 ซม. ถ้าเกินกว่านี้ อาจส่งผลให้เกิดการแตกร้าวที่ผิว เนื่องจากการหดตัวของปูนฉาบ
2. การฉาบหนากว่า 2 ซม. ต้องแบ่งฉาบชั้นละประมาณ 1-2 ซม. และติดลวดตาข่ายระหว่างชั้นเพื่อป้องกันการแตกร้าวในกรณีหนากว่า 4 ซม.
3. ก่อนฉาบให้ติดลวดหรือพลาสติกตาข่าย ตามบริเวณมุมวงกบประตู, หน้าต่าง, รอยต่อเสา รวมถึงบริเวณที่มีการขุดเซาะร่องเพื่อฝังท่อสายไฟหรือท่อน้ำ เพื่อลดปัญหาการแตกร้าวจากการฉาบ




ข้อแนะนำในการเจาะและยึดแขวนวัสดุ
หลังจากทำการฉาบผนังอิฐมวลเบาเรียบร้อยแล้ว หากต้องการตอกตะปูเพื่อใช้ในการยึดแขวนวัสดุหรือของใช้ต่างๆ ให้ฝังในพุกไนล่อนหรือพุกเหล็ก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดตะปูให้แน่นได้เป็นอย่างดี


แสดงรูปร่างของพุกไนล่อน UX แสดงรูปร่างของพุกไนล่อน SX แสดงรูปร่างของพุกเหล็ก FMD




ข้อดีข้อเสีย

ข้อดี

การกันความร้อนได้ดี
กันเสียงได้ดี
การกันไฟ ได้นานกว่า 4 ชั่วโมง
น้ำหนักเบาและรับแรงกดได้ดี
ประหยัดพลังงาน
ใช้งานง่าย และรวดเร็วกว่าอิฐทั่วไป
อายุการใช้งาน ยาวนานเท่าโครงสร้างคอนกรีต

ข้อเสีย

1. มีราคาแพง
2. ไม่ทนต่อความชื้น

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะใช้วัสดุคอนกรีตมวลเบา หรือ อิฐมอญ จะมีข้อดีและข้อเสีย และต้นทุนที่แตกต่างกันไป เช่น ก่อผนังด้วยอิฐมวลเบาทั้งหมดราคาค่าก่อก่อสร้างจะมีตัวเลขสูงขึ้นกว่าการก่อด้วยอิฐมอญชั้นเดียว แต่เมื่อนำอิฐมอญมาก่อผนัง 2 ชั้นราคาค่าก่อก่อสร้างกลับสูงกว่า เราจะเห็นบางโครงการจะใช้ทั้งคอนกรีตมวลเบา และอิฐมอญ สร้างบ้านหลังเดียว โดยส่วนผนังภายนอกที่ได้รับแสงแดดโดยตรง จะก่อด้วยอิฐมวลเบาหรือก่ออิฐมอญ 2 ชั้น ส่วนผนังภายในอาจจะก่อด้วยอิฐมอญชั้นเดียว หรืออิฐมวลเบาที่ความหนาน้อยกว่า



เปรียบเทียบวัสดุหลายประเภท

หัวข้อ / รายละเอียด อิฐมวลเบา อิฐมอญ หรืออิฐแดง
ประเภทผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ คอนกรีตมวลเบาที่มีมาตรฐานสูง ผลิตภัณท์จากวัสดุคุณภาพ คัดเกรด มั่นคง แข็งแรง อายุการใช้งานยาวนาน ผลิตจากดินเหนียว ตัดให้ได้ขนาด แล้วนำเข้าเตาเผาคุณภาพไม่แน่นอน ดีบ้างไม่ดีบ้าง
ขบวนการผลิต ผลิตจากเทคโนโลยีเยอรมัน ภายใต้การอบไอน้ำภายใต้ ความดันสูงจนกระทั่งเนื้อวัสดุเป็นผลึกที่แข็งแรงและเบา ทำด้วยแรงงานชาวบ้านตามชานเมืองที่มีแหล่งดินเหนียว
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นไปตาม มอก. 1505-2540 ระบุทุกประการได้รับการยอมรับในมาตรฐานสากล สินค้าในท้องตลาดส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐานไม่แน่นอน แตกหักง่าย
การขนส่ง และเครื่องย้าย บรรจุบนพาเลทไม้ ใช้เครื่องจักร รถโฟล์กลิฟท์ ขนส่งทีละพาเลท ขนด้วยแรงงานคนทีละก้อน มีปัญหามากในกรณีอาคารสูง และพื้นที่การกองเก็บ
ราคาค่าติดตั้งต่อพื้นที่ผนัง 1 ตร.ม. อิฐมวลเบา Q-CON หนา 7.5 ซม. (โดยประมาณ) อิฐมอญ (โดยประมาณ)
ค่าวัสดุ ค่าแรง รวม ค่าวัสดุ ค่าแรง รวม
ค่าวัสดุ 165 0 165 70 0 70
ปูนก่อ 9 40 49 35 55 90
ปูนฉาบ 2 ด้าน 2 x 45 2 x 45 180 2 x 50 2 x 50 210
เหล็กหนวดกุ้ง 8 0 8 6 0 6
เสาเอ็น หรือทับหลัง คสล. 12 8 20 15 10 25
รวมผนังรวม 422 401
ขั้นตอนการออกแบบ
- โครงสร้างอาคาร น้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของอิฐมอญ (90 กก./ตร.ม.) ประหยัดจากการลดขนาดโครงสร้างอาคาร โครงสร้างขนาดใหญ่ เนื่องจากน้ำหนักมากกว่า 2 เท่า (180 กก./ตร.ม.)
ขั้นตอนการก่อสร้าง
- การควบคุม บริหารงานก่อสร้าง ควบคุมปริมาณวัสดุได้ จัดการอย่างเป็นระบบ ปริมาณใช้งานไม่แน่นอน ไม่เป็นระบบ
- ความรวดเร็วในการติดตั้ง ก่อได้ 20-25 ตร.ม. / วัน เร็วกว่า 3-5 เท่า ต้องอาศัยความชำนาญ ก่อได้ 5-8 ตร.ม./ วัน
- ขั้นตอนการก่อ ฉาบ ก่อบาง 2 มม. ฉาบบาง 1 ซม. ประหยัดวัสดุไม่แตกร้าว ก่อหนา 1.5 ซม. ฉาบหนา 2 ซม. แตกร้าวง่าย
ขั้นตอนการใช้อาคาร
- ประหยัดจากการลดขนาดเครื่องปรับอากาศลง 20% ประหยัดได้ประมาณ 3,000 - 9,000 บาท/เครื่อง เครื่องปรับอากาศ ต้องมีขนาดใหญ่และทำงานหนักเกือบตลอดเวลา
- การประหยัดค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ Q-CON ประหยัดกว่า 25% อิฐมอญไม่เป็นฉนวนและเก็บสะสมความร้อนไว้ในตัวเอง สิ้นเปลืองไฟมาก
- การกันเสียง กันเสียได้ดี ไม่กันเสียง
- ปลอดภัยกว่า เมื่อเกิดไฟไหม้อาคาร ทนไฟและกันได้นานกว่า 4 ชั่วโมง กันไฟได้เพียง 1 - 1.5 ซม. เท่านั้น
- ค่านิยม และความทันสมัย ผลิตภัณฑ์ยุคใหม่ เพื่อผู้ใช้อาคารอย่างแท้จริง วัสดุดั่งเดิมใช้มานานกว่า 100 ปี ไม่มีการพัฒนา
- อายุการใช้งาน อายุการใช้งานนานกว่า 50 ปี สั้นกว่ามาก


ข้อมูลเปรียบเทียบวัสดุก่อผนังแต่ละชนิด
รายการ อิฐมอญ อิฐบล็อค อิฐมวลเบา
โครงสร้างบล็อก ตัน กลวง กลวง
ก่อผนังเป็นผนังรับแรง ไม่ได้ ได้ ได้
จำนวนก้อนที่ใช้ต่อตารางเมตร 120-135 ก้อน 12.5 ก้อน 8.33 ก้อน
น้ำหนักเฉลี่ยเฉพาะวัสดุ 130 กก./ ตร.ม. 115 กก./ ตร.ม. 50 กก./ ตร.ม.
ค่าการรับแรงอัด 20-30 กก./ ตร.ซม. 10.15 กก./ ตร.ซม. 35-50 กก./ ตร.ซม.
อัตราการทนไฟ (หนา 10 ซ.ม.) 2 ชม. 1 ชม. 2-4 ชม.
การดูดซึมน้ำ สูง สูง ปานกลาง
การสูญเสีย/แตกร้าว 15-20% 10-15% 5%
ราคาวัสดุ (บาท/ตร.ม.) 80 50 285*



เปรียบเทียบลักษณะคุณสมบัติอิฐมอญกับคอนกรีตมวลเบา
ข้อเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุ อิฐมอญ คอนกรีตมวลเบา
ราคา - -
โครงสร้างบล็อค ตัน กลวง
ก่อผนังเป็นผนังรับแรง ไม่ได้ ได้
การดูดซึมน้ำ สูง ปานกลาง
ความหนาของปูนก่อระหว่างก้อน 1.5 เซนติเมตร 2.3 มิลลิเมตร
ความหนาของปูนที่ฉาบ 20-25 มิลลิเมตร 10 มิลลิเมตร
น้ำหนักวัสดุ (กก./ตร.ม.) 130 45
น้ำหนักผนังรวมฉาบปูน 2 ด้าน (กก./ตร.ม.) 180 90
จำนวนใช้งานต่อ 1 ตร.ม. (ก้อน/ตร.ม.) 130 - 145 8.33
ค่ากำลังอัด ( Compressive Strength ) (กก./ตร.ซม.) 15 - 40 30 - 80
ค่าการนำความร้อน ( Thermal Conductivity ) ( วัตต์/ม.เคลวิน ) 1.15 0.13
ค่าการถ่ายเทความร้อนรวม OTTV ( วัตต์/ตร.ม. ) 58 - 70 32 - 42
อัตราการกันเสียง ( STC Rating ) ( เดซิเบล ) 38 43
อัตราการทนไฟ ( Fire Rating ) (ความหนา 10 เซนติเมตร) 2 4
ความเร็วในการก่อ ( ตร.ม./วัน ) 6-12 15-25
เปอร์เซ็นต์สูญเสีย / แตกร้าว 10 - 30 % 0 - 3 %
การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง หล่อเสาเอ็นทับหลังและต้องมีค้ำยัน ไม่ต้องเททับหลังและไม่ต้องมีค้ำยัน


ราคาวัสดุและค่าแรง

โดยทั่วไปวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างบ้านเรือน ได้แก่ไม้ อิฐมอญ และอิฐบล็อก แต่ปัจจุบันเนื่องจากไม้มีราคาสูงขึ้นมาก จึงทำให้อิฐมอญและอิฐบล็อกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการนำไปใช้งานในธุรกิจก่อสร้างต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้มีการนำ อิฐมวลเบาชนิดอบไอน้ำ (Auto-craveconcrete block) เข้ามาใช้ในงานก่อสร้างอาคาน.บ้านเรือน ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าอิฐมอญและอิฐบล็อก คือ น้ำหนักที่เบากว่า การกันความร้อนที่ดีกว่าและใช้เวลาในการก่อสร้างรวดเร็ว เป็นต้นการผลิตอิฐมวลเบาชนิดอบไอน้ำ นี้ ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตจากต่างประเทศ และผู้ผลิตในประเทศไทยยังมีจำนวนไม่มาก ปริมาณการผลิตจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลให้ราคาของอิฐมวลเบาชนิดอบไอน้ำยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับราคาอิฐมอญและอิฐบล็อก
เมื่อเทียบราคาวัสดุบวกค่าแรงต่อตารางเมตร อิฐมวลเบาหนา 10 เซนติเมตร ราคาเฉลี่ยประมาณ 360-400 บาท/ตารางเมตร ส่วนอิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 400-420 บาท/ตารางเมตร
อิฐมวลเบามีราคาแพงกว่าอิฐมอญและคอนกรีตบล็อคแต่จะมาประหยัดในด้านค่าแรง 1 ตรม.ใช้เวลาก่อ+ฉาบ 45 นาทีในขณะที่ ก่ออิฐ / คอนกรีตบล็อก ฉาบปูนใช้เวลา 2-3 ชม. และ ประหยัดค่าเสาเอ็นเนื่องจากไม่ต้องใช้ และค่าโครงสร้างก็ถูกกว่าเนื่องจากความเบา
รวม ค่าก่อสร้าง แล้วถูกกว่า อิฐมอญแต่แพงกว่าคอนกรีตบล็อก
ปัจจุบันในช่วงเดือน มีนาคม พ.ศ 2550ราคาจำหน่ายอิฐมวลเบาในตลาดอยู่ในระดับตารางเมตรละ 130 – 140 บาท


ที่มาจาก vcharkarn.com
http://baanthaidd.blogspot.com/
Tags:เรารับออกแบบบ,ออกแบบบ้าน, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบแปลนบ้าน, บ้านออกแบบ, บ้าน แปลน, ฟรีแบบบ้าน, แบบบ้านสวย, แบบบ้านสองชั้น, บ้านราคา,เรารับออกแบบบ้าน, ขายแบบบ้าน, แบบต่างๆ สไตล์ต่างๆ หลากหลายแบบ, แบบบ้านสำเร็จ, แบบบ้านสวย, แบบบ้าน 2 ชั้น, แปลนบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านชั้นเดียว, แบบบ้านไม้, แบบบ้านทรงไทย, แบบบ้านชั้นครึ่ง, แบบบ้านรีสอร์ท, บ้านและสวน, แบบบ้านฟรี, แบบบ้านราคาประหยัด, แบบบ้านราคาถูก, แบบบ้านประหยัดพลังงาน, แบบบ้านเรือนไทย, แบบบ้าน,แบบบ้านไม้ชั้นเดียว, แบบบ้าน2ชั้น, ออกแบบตกแต่งภายใน, อาคารพานิชย์, หรืออาคารต่างๆ,รับสร้างบ้าน, ตกแต่งภายใน, รับเหมาต่อเติม,ออกแบบโรงงาน,รื้อ บ้าน

รับสร้างโรงงาน,รับออกแบบโรงงาน,รับเหมาก่อสร้าง,ผู้รับเหมา,รับเขียนแบบโรงงาน,แบบแปลนโรงงาน ตลอดจนรับเ

รับออกแบบบ้านและอาคาร พร้อมให้คำแนะนำ เทคนิคดีๆ โดยคุณบี โทร 0867431141

แนะนำเทคนิคการออกแบบ ก่อสร้าง มากมาย โดยคุณบี

รับออกแบบบ้านและอาคารทุกประเภท
แบบบ้าน...(คลิกเข้าดู)
แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบคลังสินค้า...(คลิกเข้าดู)
แบบสำนักงาน แบบออฟฟิศ...(คลิกเข้าดู)
แบบทาวน์โฮม แบบทาวเฮาส์ แบบอาคารพาณิชย์...(คลิกเข้าดู)
บริการฝึกอบรม คอร์สเรียนทั้งหมด...(คลิกเข้าดู)

เข้าชม ผลงานออกแบบ พร้อม เทคนิคก่อสร้างมากมาย โดยคุณบี คลิกลิงก์ http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/p/0867431141_21.html
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!!  สอบถามได้ตลอดครับ ยินดีมากๆ
ติดต่อ คุณบี ได้ที่
โทรศัพท์มือถือ : 0867431141
Line:  line052014 หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์  https://line.me/ti/p/P3J0gN59SF
Line@: @baanthaidd (ใส่ @ ด้วยนะครับ) หรือแชทผ่านไลน์ คลิ๊กลิงค์  https://lin.ee/sqYYLM6
อีเมล :   baanthaidd@gmail.com
เว็บไซต์ :   http://www.xn--l3cahhe4c8f2ab8l2b.com/


รับออกแบบบ้านและอาคาร 
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!! ตอบ-คำถาม โดยคุณบี สอบถามได้ตลอดครับ... ยินดีมากๆ
บริการ รับออกแบบบ้านและอาคาร  เขียนแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง พร้อมยื่นขอใบอนุญาต สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร(กทม) เทศบาล อบต.  กนอ.  นิคมอุตสาหกรรม แบบ.ข1 แบบ.อ1 แบบ.อ6 แบบ.รง.4 แบบ.รง.3 แบบ.น2 แบบ.น4
บริการถอดแบบประมาณราคา (BOQ) เพื่อขอสินเชื่อ ยื่นกู้ธนาคาร
รับออกแบบ เขียนแบบ ขายแบบแปลนพิมพ์เขียว  แบบอพาร์ทเม้นท์ แบบคอนโด แบบรีสอร์ท แบบโรงแรม แบบหอพัก แบบบ้าน แบบโรงงาน แบบโกดัง แบบโรงแรม แบบรีสอร์ท แบบอาคารพาณิชย์ แบบทาวน์เฮ้าส์ แบบสำนักงาน แบบก่อสร้างอาคารทุกชนิด
บริการรับออกแบบอาคารพร้อม รับเซ็นต์แบบ รับเซ็นต์ควบคุมงาน โดย วุฒิวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ  วุฒิสถาปนิกรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรโยธารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ วุฒิวิศวกรไฟฟ้ารับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ  วุฒิวิศวกรเครื่องกลรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรอุตสาหการรับเซ็นต์แบบ สามัญวิศวกรสิ่งแวดล้อมรับเซ็นต์แบบ     
รับออกแบบพร้อมก่อสร้าง รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างคอนโด รับสร้างโรงแรม รับสร้างหอพัก รับสร้างบ้าน รับสร้างโรงงาน รับสร้างโกดัง รับสร้างสำนักงาน รับสร้างอาคารพาณิชย์  และรับเหมาก่อสร้างอาคารทุกชนิด 
รับเป็นที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้าง รับปรึกษากฎหมายก่อสร้าง รับตรวจสอบ ควบคุมงานก่อสร้างอาคารทุกประเภท
รับออกแบบทางด้านวิศวกรรมทุกสาขา  
รับออกแบบโครงสร้างอาคาร  รายการคำนวณโครงสร้าง โดย วุฒิวิศวกรโยธา สามัญวิศวกรโยธา   
รับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย รายการคำนวนระบบบำบัดน้ำเสีย รับออกแบบระบบบำบัดมลพิษ และงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม  โดยสามัญสิ่งแวดล้อม
รับออกแบบระบบดับเพลิง และ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm Fire Pump ระบบดับเพลิงอัตโนมัติสปริงเกอร์  โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบปั๊มน้ำ ระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ  ระบบแอร์ โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
รับออกแบบระบบไฟฟ้า รับเขียนแบบไฟฟ้า รับเซ็นต์แบบไฟฟ้า โดย วุฒิวิศวกรไฟฟ้า สามัญวิศวกรไฟฟ้า  
รับออกแบบ ขนาดมิเตอร์  ขนาด หม้อแปลง Single Ling Diagrams, Riser Diagrams,
รับทำ Main Schedule ขนาด ของ MDM (Main Distribution)
รับออกแบบ ตารางโหลด Load Schedule
รับออกแบบ ระบบ Lighting ไฟฟ้าแสงสว่าง, โคมไฟ, เต้ารับ,
รับออกแบบ ระบบ CCTV, TV, เครื่องเสียง, ระบบป้องกันฟ้าผ่า ฯลฯ
รับออกแบบ ระบบ Fire Alarm System , Smoke & Heat Detector